วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 13


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน

        - อาจารย์ให้นำเสนอผลงาน ที่ไปทำสมุดภาพกับเด็กๆ โดยให้เด็กๆ ช่วยกันตัดสมุดภาพในหัวข้อ "เธอชอบกินผักอะไร" ข้อเสนอแนะของอาจารย์
 
        - อาจารย์สั่งงาน ให้ทำบัตรคำ เเบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4คน ได้พยัญชนะ ง.งู



บันทึกครั้งที่ 12


วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555

กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน


  • อาจารย์ให้วาดรูปอะไรก็ได้คนละ 1 รูปแล้วนำมาเล่าเป็เรื่องราวต่อกันหน้าชั้นเรียน
  • อาจารย์ให้วาดรูปแทนคำหนึ่งประโยคและให้เพื่อนทาย
  • พูดชื่่อตัวเองแล้วทำท่าประกอบ
  • เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ

บันทึกครั้งที่ 11


วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
        
       - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเรา ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต้องมีสมร รมหรือเปล่า

        - อาจารย์ได้พูดถึงการทำกิจกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม
        - อาจารย์ได้พูดถึงการแต่งการและก็การพูดจากับผู้ใหญ่
        - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง blogger ว่าจะต้องมีสมาชิกครบ พร้อมทั้งลง VDO และรูปกิจกรรมที่ถ่ายทั้งหมด

บันทึกครั้งที่10


วันที่ 9  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555
 
*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นกิจกกรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

บันทึกครั้งที่9


วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



                         เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

บันทึกครั้งที่ 8


วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
    
      -  ในวันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน   โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า  "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
      -  อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู  แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราเห็นอะไรบ้าง
                 1.  นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้
                 2.  การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน
                 3.  ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก  เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์
                 4.  การเขียนตัวหนังสือ  สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง
                 5.  การเขียนชื่อตัวเองได้
                 6.  การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ  ค่ะ

รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน
       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

บันทึกครั้งที่ 7

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2555

-วัน นี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจาก เวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และ อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค


    อิทธิบาท4


  อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมาย ถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ

1.ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
2.วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
3.จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
4.วิมังสา (ความ ไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

บันทึกครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


-นำเสนอ VDO การเล่านิทานให้เด็กฟังพร้อมตั้งคำถาม 3 ข้อ

บันทึกครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

     -วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Powerpoin เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังเเล้วนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
        • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะ ได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

บันทึกครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554
   - อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่า อาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

ภาษาสำหรับเด็ก คือ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ทำให้สามารถเข้าใจในความหมายรู้ถึงความต้องการเพราะเด็กอาจจะไม่เเสดงออ กมาทางคำพูดเเต่จะเเสดงออกมาทางจากท่าทางกิริยา
  

     -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
    - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมี ความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับ เด็กกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก

งาน

-สัปดาห์หน้าให้นำเสนอคลิป VDO เล่านิทานให้เด็กฟังโดยตั้งคำถาม 3 ข้อพร้อมสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

บันทึกครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

พัฒนนาการ
คือ การเปลี่ยนเเปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เเละขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อเเม่เเละความใกล้ชิดของพ่อเเม่ผู้ดูเเล

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก 


         - สังเกตุ

         - สัมผัส
         - ฟัง
         - ดมกลิ่น
         - ชิมรส
สมอง
คือ การรับรูข้อมูลโดยการผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5โดยการใช้สติปัญญาการคิดเเละสามารถพัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
 การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เเละควรให้เด็กได้มีอิสระในการ ลองผิดลองถูก เลือก การตัดสินใจด้วยตัวของเด็กเอง

งาน


-ให้สัมภาษณ์เด็กโดยใช้คำถามอะไรก็ได้

บันทึกครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ.2554

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม   แต่คุยเรื่องการทำ blogger     และให้แบ่งกลุ่ม 4 คน หาดอกดาวเรืองมาจัดในวันพ่อ 4 คน / 1 ต้น